ดัชนีทอง ก.พ.66 อัตราดอกเบี้ย FED กดดันราคาทองหลังช่วงเทศกาล

1,308

ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2566 ปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือน มกราคม 2566 ที่ผ่านมา จากระดับ 64.99 จุด มาอยู่ที่ระดับ 63.35 ลดลง 1.64 จุด หรือคิดเป็น 2.52%

โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับลดลงมานั้น มีสาเหตุมาจาก ความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) กระแสเงินทุนไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น และเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณการฟื้นตัว

คาดการณ์ความต้องการซื้อทองคำในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2566จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 330 ราย ในจำนวนนี้มี 130 ราย หรือเทียบเป็น 40% ไม่แน่ใจว่าจะซื้อทองคำในเดือนนี้หรือไม่ ส่วนจำนวน 110 ราย หรือเทียบเป็น 33% ไม่ซื้อทองคำ และจำนวน 90 ราย หรือเทียบเป็น 27% จะซื้อทองคำ

สรุปกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบกิจการค้าทองคำรายใหญ่ และ ผู้ประกอบกิจการนายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับราคาทองคำจำนวน 13 ราย ในจำนวนนี้มี 7 ราย หรือเทียบเป็น 54% เชื่อว่าราคาทองคำในเดือน กุมภาพันธ์ 2566 จะลดลง ส่วนจำนวน 3 ราย หรือเทียบเป็น 23% คาดว่าจะเพิ่มขึ้น และจำนวน 3 ราย หรือเทียบเป็น 23% คาดว่าใกล้เคียงกับราคาทองคำในเดือน มกราคม 2566

สำหรับการคาดการณ์ราคาทองคำในเดือน กุมภาพันธ์ 2566 ของผู้ประกอบกิจการค้าทองคำรายใหญ่มีมุมมอง ดังนี้ Gold Spot ให้กรอบเฉลี่ยบริเวณ 1,846 – 1,974 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์

ด้านราคาทองคำแท่งในประเทศความบริสุทธิ์ 96.5% ให้กรอบเฉลี่ยบริเวณ 29,300 – 30,600 บาทต่อน้ำหนัก 1 บาททองคำ และด้านค่าเงินบาท ให้กรอบเฉลี่ยบริเวณ 32.49 – 33.85 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ

การลงทุนทองคำในเดือน กุมภาพันธ์ 2566ผู้ค้าทองคำรายใหญ่ให้ความเห็นว่า ทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาทองคำยังคงมีความผันผวน

โดยราคาทองคำมีโอกาสดีดตัวขึ้นในช่วงสั้น ถึงแม้การเคลื่อนไหวของราคาทองคำจะถูกกดดันจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งนี้ นักลงทุนอาจจับจังหวะการแกว่งตัวของราคาทองคำเพื่อหาจังหวะเข้าซื้อเมื่อราคาทองคำอ่อนตัวลง และรอขายทำกำไรเมื่อราคาเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น

Download รายงานศูนย์วิจัยทองคำประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2566 ฉบับเต็มได้ที่นี่

ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำ ก.พ.66

Comments are closed.